"ดินเค็มกับวิถีชีวิตคนอีสาน"
ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีพื้นที่หนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งประเทศ ธรณีสัณฐานของภาคอีสานเป็นประเภทที่ราบสูง มีชื่อว่า " ที่ราบสูงโคราช" บริเวณพื้นที่ราบสูงโคราชประกอบด้วยแอ่งกระทะขนาดใหญ่สองแอ่งคือ แอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร ทั้งสองแอ่งนี้มีพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 37.2 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 35 ของพื้นที่ทั้งภาค ใต้พื้นดินในแอ่งโคราชและแอ่งสกลนครบรรจุไปด้วยชั้นเกลือหิน ชั้นหินดินเหนียว และชั้นหินดินดานของชุดหินมหาสารคามเป็นส่วนใหญ่ เกลือหินพบได้ทั้งในระดับตื้นประมาณ 5-50 เมตรจากพื้นดิน และในระดับลึกประมาณมากกว่า 500 เมตรจากพื้นดิน คนในชุมชนที่เป็นพื้นที่ดินเค็มจึงเกิดวิถีการต้มเกลือสินเธาว์มาอย่างยาวนาน
การผลิตเกลือแบบสืบทอดกันมาอย่างยาวนานจากอดีตถึง ซึ่งถือว่าเป็นการปรับวิถีชีวิตตามสภาพพื้นที่ คือ การนำเอาเกลือตามดินที่ชาวอีสานเรียกว่า ขี้ทา
ที่พบเห็นอยู่ทั่วไปเป็นหย่อมๆ ตามพื้นที่ไร่นา
ซึ่งดินเค็มเหล่านี้เกิดจากการที่น้ำบาดาลจืดไหลผ่านเกลือหิน
ละลายเกลือหินได้เป็นน้ำบาดาลเค็ม และไหลกลับขึ้นสู่ผิวดินตามวัฎจักรของน้ำบาดาล
เกลือปนดินจะถูกกวาดขึ้นมาเพื่อนำมาล้างให้ได้น้ำเค็ม แล้วน้ำเค็มจะถูกนำมาต้มเพื่อให้เกลือตกผลึก
ซึ่งปัจจุบันการผลิตเกลือด้วยกรรมวิธีนี้ลดน้อยลงไปมาก
แต่ก็ยังมีปรากฏให้เห็นอยู่บ้างในบางพื้นที่
ในปัจจุบันมีกรรมวิธีการผลิตแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ในการผลิตเกลือดังกล่าวเป็นสิ่งที่หาดูได้ยาก ผู้ศึกษาจึงมีการศึกษาด้านต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และถ่ายทอดด้านภูมิปัญญาของคนในชุมชนในการอนุรักษ์และดำรงไว้ พร้อมทั้งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ได้อ่านต่อไป
วิถีชีวิตของการต้มเกลือเป็นปัจจัยสำคัญพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชน ตั้งแต่อดีตทั้งในด้านอุปโภคและบริโภคคนในชุมชนนี้ยาวนานกว่า 100 ปี ซึ่งจัดว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต การต้มเกลือของชาวบ้านขาวัว หมู่ที่ 5 ตำบลพงงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี กว่าครึ่งหมู่บ้าน คนในชุมชนมีการหมุนเวียนกันต้มเกลือ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านการบริโภคและการถนอมอาหาร ในครอบครัวที่มีแรงงานหรือผลิตเพียงพอต่อความต้องการแล้วก็จะนำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว
พื้นที่ด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้านมีที่ดินแปลงหนึ่งตั้งอยู่ริมห้วยวังเสียวประมาณ 12 ไร่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ องค์การบริหารส่วนตำบลพังงู ตรงกลางพื้นที่ดังกล่าวเป็นโนนดินเตี้ย และมีพื้นราบอยู่โดยรอบ และที่บริเวณโนนดินเตี้ยๆนั้น บนพื้นที่ดินจะเต็มไปด้วยดินสีขาวเต็มพื้นที่ไปหมด ซึ่งชาวบ้านภาคอีสานจะเรียก”ดินขี้ทา” หรือ “ดินซ่าเกลือ” ในภาษาภาคกลางนั่นเอง และจะสังเกตเห็นมีรางน้ำขนาดใหญ่ที่ขุดมาจากต้นไม้ขนาดใหญ่ทั้งต้นแบบเปิดหัว เปิดท้าย ตั้งอยู่ตามโนนดินดังกล่าวเป็นจำนวนหลายสิบราง
นอกจากนี้ก็จะเห็นกระบะรูปร่างสี่เหลี่ยมทำจากเหล็ก เหล่านี้เองเรียกว่า “การต้มเกลือ”
พิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวกับการผลิตเกลือสินเธาว์
ชาวบ้านมีความเชื่อกันมาโดยตลอดว่าจะต้องทำการบนบานศาลกล่าวต่อ “เจ้าแม่เพีย” ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นผู้ปกปักรักษาพื้นที่ดังกล่าวให้ชาวบ้านมีที่ทำกิน ด้วยเครื่องเซ่นไหว้สักการะ ปลัดขลิก 2 หมากพลู บุหรี่ ดอกไม้ ธูปเทียน และผู้ที่ต้มเกลือ จะกล่าวบนบานว่า “ขอให้ต้มเกลือให้ได้เยอะๆ สวยๆ “ แต่หากว่าผู้ต้มเกลือไม่ได้ทำพิธีบนบานศาลกล่าว ก็จะต้มเกลือ ไม่ได้เกลือ จะไม่เป็นเม็ดเกลือ มีแต่น้ำดังกล่าว
ชาวบ้านมีความเชื่อกันมาโดยตลอดว่าจะต้องทำการบนบานศาลกล่าวต่อ “เจ้าแม่เพีย” ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นผู้ปกปักรักษาพื้นที่ดังกล่าวให้ชาวบ้านมีที่ทำกิน ด้วยเครื่องเซ่นไหว้สักการะ ปลัดขลิก 2 หมากพลู บุหรี่ ดอกไม้ ธูปเทียน และผู้ที่ต้มเกลือ จะกล่าวบนบานว่า “ขอให้ต้มเกลือให้ได้เยอะๆ สวยๆ “ แต่หากว่าผู้ต้มเกลือไม่ได้ทำพิธีบนบานศาลกล่าว ก็จะต้มเกลือ ไม่ได้เกลือ จะไม่เป็นเม็ดเกลือ มีแต่น้ำดังกล่าว
เครื่องเซ่นไหว้สักการะ ก่อนการต้มเกลือ
รูปแบบการผลิต
การผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมในครอบ ครัว
เป็นผลิตที่ทำง่าย ๆ ใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยี ขั้นต่ำ
เพื่อผลิตเกลือไว้รับประทานหรือจำหน่ายการผลิตเกลือไว้รัประทานและใช้ทำปลาแดก (ปลาร้า) ซึ่งชาว บ้านจะผลิตเกลือไว้ใช้เมื่อฤดูน้ำลดใน ช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม อันเป็นระยะเดียวกับการ ออกจับปลาตามลำน้ำ ลำห้วยใกล้หมู่บ้าน
การจำหน่าย
ในปัจจุบันนี้จะใช้ถุงปุ๋ยบรรจุ ถุงละ 24-25 กิโลกรัม ต่อถุง ซึ่งราคาที่คนต้มเกลือขายที่หน้าบ่อต้มหรือปาง กิโลกรัมละ
25 บาท ขึ้นไปขึ้นอยู่กับช่วงที่ซื้อ-ขายจะมีการขึ้น-ลง
หรือตกถุงละ 600-700 บาท โดยคนซื้อจะมีอยู่หลายกลุ่ม
เช่น
พ่อค้ารถเร่และชาวบ้านทั่วไปที่ขับรถผ่านและส่วนที่เป็นคนที่ตั้งใจเดินทางมาซื้อที่หน้าปางหรือบ่อต้มเลยและตลาดของเกลือสินเธาว์
ก็ยังมีอยู่ตามตลาดทั่วๆไป
อย่างไรก็ตามการผลิตเกลือในชุมชนยังคงมีปัญหาในด้านการตัดไม้เพื่อนำฟืนมาต้มเกลือ
จึงเป็นผลที่ต้องมีแนวทางในการทดแทนการตัดไม้ โดยอาจปลูกต้นไม้ทดแทน
หรือการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเห็นคุณค่า “ เพื่อผู้ผลิตเกลือยังสามารถผลิตต่อไปได้และยังได้รับผลประโยชน์สูงสุด
และขบวนการผลิตไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป”
บรรณานุกรม
นายชูชัย โนนทะขาม อายุ 65 ปี บ้านเลขที่ 65 ม.5 ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
นางนาง ทีเหลา อายุ 65 ปี บ้านเลขที่ 3 หมู่ 5 ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
นายธวัชชัย แข็งแรง ผู้ใหญ่บ้านบ้านขาวัวผู้รู้ในชุมชน ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เว็บไซต์ วีถีของคนอีสาน ชาวอุดรฯหันมาทำเกลือสินเธาว์หรือเกลือโบราณอีสานช่วงฤดูแล้ง
(http://www.openudon.com/forum/index.php?topic=1772.0)
เว็บไซต์ การผลิตเกลือ โดยภูมิปัญญาของคนไทยโบราณ
(http://advisor1.anamai.moph.go.th/231/23104.html)
บทความการทำนาเกลือสินเธาว์ (เพียงตา สาตรักษ์, 2546)
วิทยานิพนธ์ การสืบทอดและการพัฒนาการผลิตเกลือสินเธาว์ ตำบลบ่อเกลือใต้ จังหวัดน่าน
นางนาง ทีเหลา อายุ 65 ปี บ้านเลขที่ 3 หมู่ 5 ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
นายธวัชชัย แข็งแรง ผู้ใหญ่บ้านบ้านขาวัวผู้รู้ในชุมชน ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เว็บไซต์ วีถีของคนอีสาน ชาวอุดรฯหันมาทำเกลือสินเธาว์หรือเกลือโบราณอีสานช่วงฤดูแล้ง
(http://www.openudon.com/forum/index.php?topic=1772.0)
เว็บไซต์ การผลิตเกลือ โดยภูมิปัญญาของคนไทยโบราณ
(http://advisor1.anamai.moph.go.th/231/23104.html)
บทความการทำนาเกลือสินเธาว์ (เพียงตา สาตรักษ์, 2546)
วิทยานิพนธ์ การสืบทอดและการพัฒนาการผลิตเกลือสินเธาว์ ตำบลบ่อเกลือใต้ จังหวัดน่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น