วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

กลุ่มสตรีทอผ้า มัดหมี่

                  "การทอผ้าฝ้าย"

ประวัติของครัวเรือนเกษตรกร/กลุ่ม/องค์กร
                เดิมหมู่บ้านแดง ต.ใหม่นาเพียง อ.แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น เป็นชุมชนที่มีการสืบทอด ภูมิปัญญาการทอผ้ามาจากบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นอาชีพเสริมที่มีรายได้มาโดยตลอด ต่อมาได้มีศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว จังหวัดขอนแก่น ได้เห็นถึงความสำคัญของทุนทางสังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้าน จึงได้สนับสนุนงบประมาณโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว โดยให้คนในชุมนรวมกลุ่มกันทอผ้าไหมยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีลวดลายที่หลากหลาย สนับสนุนเงินทุนในการต่อตั้งกลุ่ม และจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการกลุ่ม การตลาด การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการสร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพ หลักสูตร ทอผ้าฝ้าย มัดหมี่ เมื่อปีงบประมาณ 2558 ทำให้เกิดการรวมกลุ่มของแม่บ้านในชุมชน เกิดการจัดตั้งกลุ่มสตรีทอผ้าฝ้าย มัดหมี่

    ภาพที่ 1 การลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากประธานกลุ่มฯ


กิจกรรมทั้งหมดของครัวเรือนเกษตรกร
                อาชีพหลักของคนในชุมชุนอาชีพหลักคือ ประชากรส่วนใหญ่  ประกอบอาชีพ ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ การทำอาชีพเสริมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยการนำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและมีการรวมกลุ่มประกอบอาชีพในชุมชนคือการทอผ้าฝ้าย ซึ่งในวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าฝ้ายคือเป็นการทำให้กลุ่มเข้มแข็ง มีกิจกรรมร่วมกัน และสามารถสร้างรายได้ให้สมาชิกเพิ่มมากขึ้น


กิจกรรมที่สมาชิกของกลุ่มที่ได้รับ มีดังนี้
    
1) ผลการตอบแทนจากการดำเนินงานของกลุ่มสตรีทอผ้าฝ้าย
    
2) ข้อมูลข่าวสารในด้านต่างๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่ม
สภาพทางเศรษฐกิจของครัวเรือน/กลุ่ม/องค์กร
                บ้านหนองแดงมีจำนวนครัวเรือน 208 หลังคาเรือน เป็นชาย 450 คน หญิง 453 คน รวม 903 คน โดยเน้นพัฒนาเศรษฐกิจพึ่งพาตนเองเพื่อความยั่งยืนโดยการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายของชุมชนโดยวิธีการ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขาย
ภาพที่ 2 แสดงกิจกรรมการทอผ้า มัดหมีที่สมาชิกกลุ่มร่วมกันทำ

และผู้ซื้อในชุมชน เพื่อให้เกิดการค้าขายภายในชุมชนมากขึ้น ผลิตสินค้าภายในชุมชนโดยเฉพาะสินค้าบริโภคอุปโภคพื้นฐานเพื่อทดแทนหรือลดการสั่งซื้อจากนอกชุมชนและนำไปขายนอกชุมชน ส่งเสริม อุดหนุนธุรกิจในชุมชนและไม่ส่งเสริมให้ธุรกิจที่มาจากนอกชุมชนมาแข่งขันกับชุมชนอย่างไม่เป็นธรรม
                - ที่ดิน ขนาดพื้นที่ การได้มา ผังแปลง  และอื่นๆ
               
สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเป็นหลัก โดยมีการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ของตนไม่ได้เช่า และพื้นที่ชองสมาชิกกลุ่มแต่ละคน
               
- แรงงาน จำนวนเงินลงทุน วงเงินกู้ และอื่นๆ
               
แรงงานมีสมาชิกในกลุ่ม
20 คน โดยมีประธานคือ นางหนูเย็น  เชิงชัยภูมิ        

โครงสร้างกลุ่ม
   สภาพทางสังคมของครัวเรือน/กลุ่ม/องค์กร
                การรวมกลุ่มสตรีทอผ้าฝ้ายมีวัตถุประสงค์คือ
              
1) เพื่อรวมกลุ่มส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริม การทอผ้า แก่ประชาชน
              
2) เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิกกลุ่ม
              
3) เพื่อรักษาและนำเอาภูมิปัญญาภูมิปัญญาพื้นบ้านมาพัฒนาเป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
              
4) เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มของสตรีใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
              
5) เพื่อรักษาและสืบสานปัญญาภูมิพื้นบ้านในการทอผ้า
      - การอบรมและพัฒนาบุคลากร
               
 มีการฝึกอบรมเดือนละ
1 ครั้ง  และมีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง/ปี หรือตามที่คณะกรรมการเสนอขอเปิดประ โดในการประชุมแต่ละครั้งต้องมีคณะกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งในการประชุม

ภาพที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของกลุ่มหรือองค์กร

      - การสนับสนุนด้านวิชาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
               
1) มีศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพรัตนภา จังหวัดขอนแก่น
              
2) โรงแรมโฆษะ (การตลาด)
              
3) บริษัทเอกชน KK plack การออกแบบบรรจุภัณฑ์และให้ความรู้
               4) สถานประกอบการฝึกอาชีพ
      - ปัญหาสภาพสังคมที่สำคัญ

               1) สมาชิกกลุ่มไม่ค่อยมีเวลา (เมื่อถึงฤดูการทำนาทำงานตามที่สั่งไม่เพียงพอ)
              
2) ความพร้อมของสมาชิกในกลุ่มถือว่ายังน้อย  เพราะเมื่อมีการสั่งผ้าฝ้ายมามักจะผลิตไม่ทัน
              
3) ข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ คณะกรรมการในกลุ่มเห็นว่างบประมาณในการหมุนเวียนกลุ่มน้อย
กิจกรรมการเกษตรที่เลือกศึกษากระบวนการเรียนรู้ ให้ระบุว่าเป็นการความรู้เพื่อปรับปรุงการผลิตพืชชนิดใด
    
การทอผ้าฝ้ายถือว่าเป็นรูปแบบการผลิตที่สมาชิกกลุ่มต่อยอดมาจากการผลิตผ้าไหม ซึ่งปัจจุบันปรับเป็นจากรูปแบบการทอผ้าไหมมาเป็นการทอผ้าฝ้าย ซึ่งมีความต้องการของตลาดมีความต้องการสูงและขายได้ง่ายพร้อมทั้งราคาไม่สูงเหมาะสำหรับตลาดทั่วไป
      โดยทำให้เกิดการคิดค้นลายใหม่ๆ ด้วยคนในกลุ่มเองและมีการถ่ายทอดสู่สมาชิกกลุ่ม พร้อมทั้งให้คนรุ่นใหม่เกิดการศึกษาและต่อยอดจากการทอฝ้ายเอง  


ภาพที่ 4 การพัฒนาลายผ้าฝ้ายจากลายผ้าไหมซึ้งเป็นทุนทางสังคมของกลุ่มเอง

สภาพการผลิตและการจำหน่ายผลผลิตที่เลือกศึกษาก่อนที่จะมีการปรับปรุงโดยการจัดการความรู้ 
ประวัติการผลิตพืชหรือสัตว์ที่เลือกศึกษา
    
- ผลิตชนิดนี้มานานแล้วกี่ปี
                การประกอบการ การผลิตผ้าฝ้ายนี้ทำการผลิตมาแล้ว 2 ปี จากเจ้าหน้าที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว จังหวัดขอนแก่น สังกัดกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เข้ามาส่งเสริมและสร้างองค์ความรู้แก่คนในชุมชน ในโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว หลักสูตร ทอผ้าฝ้าย มัดหมี่ เมื่อปีงบประมาณ 2558 ทำให้เกิดการรวมกลุ่มของแม่บ้านในชุมชน เกิดการจัดตั้งกลุ่มสตรีทอผ้าฝ้าย มัดหมี่
                - เริ่มมีการปรับปรุงการผลิตมาแล้วกี่ปี
หลังจากมีการฝึกอบรมจากศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพรัตนภา จังหวัดขอนแก่น สมาชิกกลุ่มมีการ ต่อยอดจากผ้าฝ้ายที่ โดยการใช้อุปกรณ์ที่ใช่ในการทอผ้าไหมเดิมอยู่แล้วเช่น หูก กง อัก หลังตีนกง หลา กระสวย หลอดใส่ด้วย โฮมมี่ ที่ใช้ในการนำมาทอผ้าฝ้าย ยกเว้น ฟืม ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิต และได้เพิ่มลวดลายในการทอผ้าฝ้าย จากเดิมปกติที่ไม่ค่อย ได้มีปรับเพิ่มเติมให้มีลวดลายและถ่ายทอดสู่สมาชิกกลุ่ม และคิดค้นลวดลายใหม่ๆเอง
                - สาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการปรับปรุงการผลิต
               
เมื่อมีการนำสินค้าไปจำหน่ายมีความต้องการของผู้ซื้อผ้าฝ้ายทอมือที่มีลวดลายสูงกว่าผ้าฝ้ายปกติทั่วไปสมาชิกในกลุ่มจึงมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับสภาพความต้องการปัจจุบัน เกิดการหมุนเวียนรายได้มากขึ้น มีกิจกรรมทำในกลุ่มมากขึ้น พร้อมมีกำลังใจในการผลิตมากขึ้น และเริ่มมีการใช้สีธรรมชาติ เช่นโคลน เปลือกไม้เข้ามาทดลองทำในกลุ่มสมาชิกเอง เกิดการเพิ่มกำลังการผลิตและรายได้ในกลุ่มเองเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน  



      โดยสมาชิกในกลุ่มจะเปรียบเทียบว่า ถ้าหากเป็นผ้าไหม 1 ผืน จะต้องใช้ระยะเวลาในการทอประมาณ 15วัน ราคาผืนละ ประมาณ 1,200 -1,400 บาท
      แต่ถ้าหากเป็นผ้าฝ้าย 20 ผืน จะใช้ระยะเวลา 3 วันโดยเฉลี่ย  รายได้ประมาณ 2,600-4,000 บาท







 กระบวนการผลิตพืช ก่อนมีการปรับปรุงโดยการจัดการความรู้โดยหัวข้อการเก็บข้อมูล และประเด็นคำถามเกี่ยวกับสภาพการผลิตของพืชมีดังนี้
การผลิต
การจำหน่ายผลผลิต
การแปรรูปผลผลิต
    ไม่มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์
มีการผลิตเพื่อส่งตาม Order และจำหน่ายทั่วไป ยังไม่มีการแปรรูปสินค้า
ช่วงเวลาในการจำหน่ายผลผลิต
-คือช่วงที่เว้นว่างจากการทำนา หรือช่วงเวลาอื่นๆที่เหมาะสม
สถานที่จำหน่าย
-ศูนย์ฝึกอาชีพสตรีรัตนาภาฯ ศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP โรงแรมโฆษะ คณะที่มาศึกษาดูงาน
การขนส่งไปจำหน่าย
จำนวนหรือปริมาณที่จำหน่าย
   
- จำนวน Order ผลิตอยู่ประมาณ 1,000 ชิ้น และรับทอจากจากกลุ่มอื่น พร้อมทอเพื่อจำหน่ายในส่วนต่างๆ เช่นคณะศึกษาดูงานจากต่างพื้นที่
ราคาผลผลิตที่จำหน่าย
    - ราคาโดยทั่วไปจะจำหน่ายอยู่ประมาณ 130 -200 บาท/ผืน
กำไรจากการจำหน่าย
  
- กำไรในการจำหน่ายราคาส่งจะอยู่ประมาณผืนละ 50 บาท ขายปลีกก็มากกว่า ผืนละ 70 บาทขึ้นไป
ประเด็นการถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิต  และการจำหน่ายผลผลิต
ทำเมื่อไร
จะมีการผลิตเป็นอาชีพเสริมช่วงหลังจากการเว้นว่างจากฤดูการทำนา
ทำอย่างไร
      โดยมีขั้นตอนคือ ย้อมฝ้าย กวักฝ้าย ขี๋นหูก สืบหูก ผัดหลอด ทอผ้า
ขั้นตอนการเตรียมเส้นด้ายฝ้าย
    ขั้นตอนที่ 1 ซื้อด้ายฝ้ายเป็นหลอด โดยนำเส้นด้ายที่เตรียมไว้มาค้นเครือกับอุปกรณ์หลักเฟือ
    ขั้นตอนที่ 2 มัดหมี่ลวดลายลงในผ้า แล้วนำไปย้อม ย้อมฝ้าย มีทั้งการย้อมด้วยสีเคมี และสีธรรมชาติ  
    ขั้นตอนที่
3 เมื่อย้อมเส้นด้ายฝ้ายแล้วนำมาบิดพอหมาดๆ พึ่งลมให้แห้ง จากนั้นนำด้ายที่พึ่งแห้งแล้วนำมาล้างให้สะอาดจากนั้นจึงนำไปพึ่งลมหรือตากในที่ร่มให้แห้งอีกครั้ง กวักฝ้าย เป็นการนำเส้นฝ้ายที่ซื้อมาออกจากใจฝ้ายเตรียมจะนำไปทำเครือหูกและปั่นใส่หลอดกระสวย
ขั้นตอนการทอ
    ขั้นตอนที่ 4 นำเส้นด้ายพุ้งที่ย้อมเรียบร้อยแล้วมาใส่หลา เพื่อปั่นใส่หลอด และนำเส้นด้ายเส้นยืนที่ย้อมสีแล้วมาใส่
    ขั้นตอนที่ 5 จากนั้นก็นำเส้นด้ายที่ปั่นใส่หลอดมาทอกับเส้นยืน ที่ใส่ฟืมไว้แล้วทอเป็นผืนผ้าก็จะได้ลวดลายจากการมัดย้อมสี เป็นผ้าคลุมไหล่
วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้าฝ้าย
1. ฝ้าย ฝ้ายที่ทอในปัจจุบันไม่ได้ปลูกเอง แต่จะซื้อสำเร็จรูป ซึ่งมีทั้งฝ้ายที่ย้อมสีสำเร็จและฝ้ายที่ต้องนำมาย้อมสีเอง
2. กี่ทอผ้า การทอผ้าฝ้ายของกลุ่มสตรีบ้านเหล่าปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการทอด้วยกี่กระตุก เนื่องจากเป็นการทอผ้าที่มีหน้ากว้าง การทอด้วยกี่กระตุกช่วยทำให้การทอผ้ารวดเร็วขึ้น โดยเพิ่มปริมาณความยาวของผ้าได้มากกว่าการทอผ้าที่พุ่งกระสวยด้วยมือ กี่กระตุกที่พบในปัจจุบันมี 2 ขนาด คือ กี่ขนาดใหญ่ใช้ทอผ้าที่มีความกว้างมาก
3. เฟือขอ มีลักษณะเป็นโครงสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาจทำจากไม้หรือเหล็กก็ได้ โดยปลายทั้งสองข้างตามแนวนอนมีด้ามเล็กๆ ยึดติดอยู่เป็นระยะ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียงด้ายเส้นยืนตามความยาวที่ต้องการ
4. กงกว๊าง เป็นอุปกรณ์สำหรับคลี่เส้นฝ้ายเพื่อให้ง่ายต่อการทำมาปั่นใส่กระป๋อง
5. กระป๋องหรือหลอดฝ้ายขนาดใหญ่ กระป่องหรือโครงไม้เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้พันฝ้าย
6. เพียนปั่นด้าย เพียนปั่นด้ายเข้าหลอดหรือกงปั่นหลอดด้าย ปัจจุบันทำจากซี่และวงล้อรถจักรยาน ใช้สำหรับกรอเส้นฝ้ายที่เป็นเส้นพุ่งใส่หลอดไม้ไผ่ที่จะนำไปใส่ในกระสวย
7. บันไดลิง บันไดลิงในอดีตมีลักษณะเป็นเถาวัลย์ ที่มีลักษณะโค้งงอเหมือนบันได ปัจจุบันบันไดลิงหายาก จึงเปลี่ยนมาใช้ไม้ตอกตะปูห่างกันประมาณ 3 นิ้ว โดยดัดตะปูให้โค้งงอสำหรับเกี่ยวเส้นฝ้ายไว้และยังคงใช้ชื่อเรียกดังเช่นอดีต
ใครทำ สมาชิกกลุ่ม จำนวน 22 รายเป็นหลักในการช่วยในการผลิต
ลงทุนเท่าไหร่ ราคาต้นทุนต่อผืนอยู่ประมาณ  70 บาท/ผืน
         โดยมีรายละเอียด
1 ผืนประกอบด้วย
                   ค่าซื้อเส้นใยฝ้าย 0.75 ก.ก. ราคาประมาณ  20 บาท
                   ค่ามัด                                                         
30 บาท
                   ค่าย้อม+ทอ และแรงงานอื่นๆ                   
20 บาท
                         รวมต้นทุนต่อผืน ประมาณ                 70  บาท
ปัญหาที่พบในแต่ละเรื่อง และการแก้ไขปัญหา
         
1. การให้เวลาในการทำงานกลุ่มของสมาชิก ยังถือว่ายังไม่ค่อยมีเวลาในการทอผ้าฝ้ายที่ควร                         
              การแก้ปัญหา   โดยการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบเท่าที่จำเป็นไปก่อน และจัดให้มีการแบ่งงานตามความรับผิดชอบแล้วแต่ช่วงเวลา หรืออาชีพหลักที่เหมาะสมของสมาชิกกลุ่ม
      
  2. ความพร้อมในการผลิต ซึ่งผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ซื้อ  
             การแก้ปัญหา จำเป็นต้องจ้างคนอื่นเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ผลผลิตภัณฑ์ตรงตามเวลา และต่อมาสมาชิกต้องวางแผนในการผลิตเพื่อให้ทันต่อเวลา และช่วงของความเหมาะสมรอบด้าน
      
 3. งบประมาณที่มีอย่าจำกัด ต้องอาศัยงาบประมาณจากแหล่งต่างๆ
            การแก้ปัญหา สมาชิกในกลุ่มต้องออกเงินช่วยกันเพื่อเป็นต้นทุนในการผลิต และขอสนับสนุนแหล่งเงินทุนจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง พร้อมปรับใช้อุปกรณ์ที่มีจากการทอผ้านำมาใช้ในการทอผ้าฝ้าย



 สภาพการจัดการความรู้เพื่อการปรับปรุงการผลิต
        การปรับปรุงแบบผ้าฝ้ายเพื่อการผลิต มีการปรับเปลี่ยนในการเพิ่มลวดลายต่างๆ ซึ่งนำความรู้จาการทอผ้าไหมมาต่อยอดจากเดิม  ทำให้ผ้าฝ้ายมีลวดลายดูน่าสนใจมากขึ้น โดยความรู้ที่นำมาถ่ายทอดเป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลที่มีประสบการณ์ในการทอผ้า โดยนำมาถ่ายทอดให้สมาชิกในกลุ่มรับรู้ และช่วยกันพัฒนาลวดลายต่างๆช่วยกันของสมาชิกในกลุ่มเอง โดยที่บางลายก็ได้ไปขอมาจากคนต่างชุมชนโดยการแบ่งปันกันเทคนิคกันโดยปัจจุบันสมาชิกที่ทำการทอผ้าฝ้ายเป็นคุณภาพ เกรด A
               รูปแบบการบริบุคลากรในกลุ่ม ทั้ง 20 คนเป็นสมาชิกที่คัดเลือกจากการประชุมของสมาชิกกลุ่มที่มีความพร้อมในการประชุมด้วยมติ 2/3 ของสมาชิกทั้งหมด โดยมีคนทอผ้าทั้งหมดคือ 16 คน
อีก
4 ราย จะมีหน้าที่ในด้านการประชาสัมพันธ์ การตลาด และการเงินตามลำดับ


ความคิด ความรู้ และวิธีการที่เคยมีหรือปฏิบัติอยู่ก่อนแล้ว มีความเหมือนหรือแตกต่างจากสิ่งที่ได้รับมาใหม่อย่างไร มีการประยุกต์ให้สอดคล้องหรือสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างไร
       การทอดผ้าฝ้ายที่เคยมีมาจากเดิมที่เคยมีการทอผ้าไหม สมาชิกในกลุ่มสามารถปรับจากผ้าสีพื้นๆ ธรรมดำเป็นผ้าที่มีลวดลาย โดยอาศัยการต่อยอดจากลายผ้าไหมและทำให้เกิดการประยุกต์ต่อยอดจากงานเดิมได้ พร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือในการผลิตก็มีการปรับปรุงดัดแปลงจากเดิม ที่ใช่ในการทอผ้าไหมเดิมอยู่แล้วเช่น หูก กง อัก หลังตีนกง หลา กระสวย หลอดใส่ด้วย โฮงมี่ ที่ใช้ในการนำมาทอผ้าฝ้าย ยกเว้น ฟืม ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิต ได้มีปรับเพิ่มเติมให้มีลวดลายและถ่ายทอดสู่สมาชิกกลุ่ม และคิดค้นลวดลายใหม่ๆเองที่ใช้เฉพาะทอผ้าไหมมาปรับใช้ในการทอผ้าฝ้ายได้

การถ่ายทอดองค์ความรู้ ความคิดและวิธีการที่ได้รับมาใหม่สู่คนอื่น
                ปัญหาที่เกิดในการถ่ายทอดซึ่งพบในช่วงแรกๆ ของการผลิตหรือไม่เข้าใจหรือไม่ทราบแหล่งวัสดุในการผลิต โดยอาศัยขอรับคำปรึกษาต่างๆจากเจ้าหน้าที่ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพตรีรัตนาภา และมาถึงปัจจุบันปัญหาที่พบถือว่ายังได้พบน้อย และสามารถแก้ปัญหาในกลไกลของกลุ่มเอง
 ผลที่เกิดขึ้นจากการนำความคิด ความรู้ และวิธีการใหม่ที่ได้นำมาใช้ปรับปรุงการผลิต
       1) รายได้หมุนเวียนในกลุ่มมากขึ้น พร้อมสร้างรายได้เพิ่มในครอบครัว
      
2) คนในชุมชนมีงานทำในช่วงเวลาที่เหลือจากการทำการเกษตร และเกิดการรวมกลุ่มมีงานทำในชุมชนตนเอง
      
3) กลุ่มมีกิจกรรมทำร่วมกันเพิ่มมากขึ้น
       
4) คนรุ่นหลังในชุมชนมีการเรียนรู้และสืบทอดจากบรรพบุรุษ และสานต่อแนวความคิดต่อไป
 ในอนาคตมีแผนที่จะเผยแพร่ ความคิด ความรู้ และวิธีการใหม่ที่ได้นำมาใช้ปรับปรุงการผลิตและการจำหน่ายพืชนี้ สู่คนอื่นในครอบครัว/กลุ่ม/องค์กรอย่างไรบ้าง และสิ่งที่จะเอื้ออำนวยหรือส่งเสริมให้เผยแพร่ดังกล่าวประสบผลสำเร็จมีอะไรบ้าง  
   
 - อนาคตต่อไปเป็นแหล่งศึกษาดูงานของสถานที่ต่างๆ และมีการแทรกเข้าในบทเรียนของตัวนักเรียนเพื่อรับรู้ภูมิปัญญาที่มีมา เพื่อให้สืบทอดงานและพัฒนาได้อีกต่อไป
       พร้อมทั้งคนในชุมมีความพร้อมในการดำเนินงานกิจกรรมการทอผ้าฝ้าย เพราะมีทุนทางสังคมด้านภูมิปัญญาการทอผ้าไหมต่อยอดจากเดิมอยู่แล้ว
ข้อคิดของนักศึกษาต่อการจัดการความรู้ของครอบครัว/กลุ่ม/องค์กร
               
กลุ่มการผลิตผ้าฝ้ายถือว่าเป็นช่วงแรกของการดำเนินกิจกรรม หากมีหน่วยงานหรือผู้สนับสนุน ผู้นำท้องถิ่นให้การสนับสนุน พร้อมทั้งเป็นแหล่งการผลิตที่ครบวงจร ทั้งเรื่องวัตถุดิบคงจะเป็นการผลิตที่ครบวงจร และรวมไปถึงการเพิ่มจำนวนของสมาชิกกลุ่มในต่อไป
               จุดเด่น
               สมาชิกกลุ่มและผู้นำกลุ่มมีความร่วมมือที่ดี
               ประธานกลุ่มมีความสามารถในการออกแบบลวดลายใหม่ๆ สม่ำเสมอ
               สมาชิกกลุ่มมีการใช้เครื่องมือ และมีการต่อยอดจากการทอผ้าไหมทำให้มีพื้นฐานที่ดีในการทอผ้าฝ้าย
                ข้อควรปรับปรุง 
             ควรเพิ่มในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ การสร้างลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์นั้นๆ และสมาชิกในกลุ่มควรมองรูปแบบการผลิตกลุ่มต่างๆที่มีคุณภาพสูงกว่ากลุ่มตนเอง และยกระดับการพัฒนากลุ่มให้ก้าวหน้า โดยอาจเริ่มต้น ตามทฤษฎี คือ
              
 สมาชิกพบปะกัน แนะนำความรู้จักกัน สมาชิกเริ่มรู้สึกอยากรวมตัวกัน จัดเวทีให้สมาชิกมาพบกัน เพื่อแก้ไขปัญหาของตนเอง ครอบครัวและเพื่อบ้าน โดยที่สมาชิกแต่ละคน มาร่วมปรึกษา หารือกันโดยการประชุมในการแก้ไขปัญหา ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเหมือนกันหรือแตกต่างกัน ปัญหาต่างถ้าต่างคนต่างแก้ปัญหาอาจจะแก้ไขได้ไม่ดี แต่ถ้าทุกคนมาร่วมกันแก้ไขปัญหา ก็จะสามารถ แก้ไขสำเร็จลุล่วง
              
 พัฒนาเชื่อมโยงจุดมุ่งหมายและสร้างความเป็นปึกแผ่น เมื่อมีการประชุมร่วมกันบ่อยๆ จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆของกลุ่ม สมาชิกในกลุ่มเกิด ความรู้สึกต่อกลุ่มอย่างเหนียวแน่น พัฒนาเชื่อมโยงสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ โดยการจัดหาเงินทุนจากภายใน กลุ่มเอง เช่นการระดมทุน การฝากเงินสัจจะออมทรัพย์ และทุนจากภายนอก ได้แก่ การกู้ยืมจากสถาบัน การเงินธนาคารเพื่อการเกษตร ธนาคารออมสิน หรือการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงาน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่น 3. ระยะที่กลุ่มปรับองค์กร ปรับโครงสร้างและกำหนดบทบาทหน้าที่ เมื่อสมาชิกเกิดจากการรวมตัว ต่างคนต่างผลิต จะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่จัดตั้งเป็น คณะกรรมการของกลุ่ม ตามหลักสากล ได้แก่ ประธานกลุ่ม รองประธานกลุ่ม เลขานุการกลุ่ม เหรัญญิก ส่วนที่เหลือเป็นคณะกรรมการ คณะกรรมการกลุ่มมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม และมติที่ประชุมใหญ่ 4. ระยะที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาข้อขัดแย้งไม่ลงรอยกันบ้าง สมาชิกของกลุ่มเริ่มมีปัญหาขัดแย้งไม่ลงรอยกัน เนื่องจากไม่รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง ตามที่ได้รับมอบหมาย ให้กำหนดระเบียบ วิธีการปฏิบัติงานของกลุ่ม เพื่อเป็นปทัสถาน ถือเสมือนกลไกล ข้อบังคับหรือควบคุมให้สมาชิกปฏิบัติตามเพื่อให้ทราบบทบาทหน้าที่ของตนเองว่ามีบทบาทอย่างไร 5. ระยะดำเนินงาน สมาชิกแบ่งเบาภารกิจ การสร้างความเป็นผู้นำและความไว้เนื้อเชื่อใจกันสมาชิกพึงพอใจต่อผลงานของกลุ่ม สมาชิกในกลุ่มต้องมีการแบ่งเบาภารกิจ ปรับปรุงการบริหารจัดการอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ จัดทำบัญชี บันทึกรายงานการประชุม รับฟังความคิดเห็นของสมาชิก เปิด โอกาสให้บุคลากรในกลุ่มได้เรียนรู้เพิ่มเติม สมาชิกกลุ่มพึ่งพอใจในสิ่งที่ได้รับ ทำให้เกิดความเชื่อมั่น ในตนเอง เกิดความรัก ความไว้วางใจ มีความสามัคคีเพิ่มขึ้น การบริหารงานกลุ่มโดยนำแนวคิด การบริหารงานกลุ่ม โดยการดำเนินการดังนี้  
                    รวมคน คือรวมคนที่มีปัญหาเหมือนกันหรือคล้ายกัน มีความต้องการ จุดมุ่งหมาย หรือ เป้าหมายที่เหมือนกัน คนที่มารวมกันจะต้องพร้อมและสมัครใจที่จะร่วมแรงร่วมมือ และไม่ใช่เป็น คนที่เข้ามาหวังประโยชน์ส่วนคน โดยไม่คำนึงถึงคนอื่น
              
    รวมเงินคือ การรวมเงินจากสมาชิกเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการแก้ไขปัญหากับ สมาชิกที่เดือดร้อนในรูปการบริการเงินกู้ เงินที่สมาชิกนำมารวมกันเรียกว่า เงินค่าหุ้นสมาชิกจะนำ เงินลงทุนหรือเงินฝากเท่าไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในกลุ่ม
                 รวมความคิด คือ ในการท างานกลุ่มต้องกำหนดจากความคิดของสมาชิกทุกคน เพื่อนำไปใช้ในการบริหารงาน ซึ่งสมาชิกทุกคนจะต้องร่วมกันคิด มาร่วมกันทำงาน กำหนดเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ตลอดจนวางแผนเพื่อพัฒนากลุ่มร่วมกัน
                รวมใจคือ เป็นการรวมคนที่ค่อนข้างมีความแตกต่างกันในหลาย ๆ ด้านทั้งความคิด จิตใจ ฐานะทางการเงิน การศึกษา คุณวุฒิ และวัยวุฒิ สิ่งต่าง ๆ เห ล่านี้โดยทั่วไปมักเป็นอุปสรรค์ จำเป็นต้องสลายความแตกต่างเหล่านี้ออกไปให้หมด โดยอาศัยความช่วยเหลือของสมาชิกทุกคนเพื่อให้ เกิดพลังที่เข้มแข็ง ความร่วมมือคงเป็นไปได้ยากหากไม่เริ่มที่การ รวมใจเข้าด้วยกันก่อน และการท า ให้เกิดการรวมใจได้ คนที่มารวมกันคงต้องคนหาก่อนว่าอะไรคือ จุดมุ่งหมายสูงสุดร่วมกันโดยการน าบุคลากรได้แก่ สมาชิก คณะกรรมการ วัตถุดิบและการเงิน ประสานเข้าด้วยกัน เพื่อน ามาบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพให้ได้ผลตอบแทนมากที่สุดและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด 2.4.3 การสร้างเครือข่าย เครือข่าย (แท้) มีองค์ประกอบสำคัญอยู่อย่างน้อย 7 อย่างด้วยกัน คือ 1. มีการรับรู้มุมมองที่เหมือนกัน (common perception) สมาชิกในเครือข่าย ต้องมีความรู้สึกนึกคิดและการรับรู้เหมือนกันถึงเหตุผลในการเข้า มาร่วมกันเป็นเครือข่าย อาทิเช่น มีความเข้าใจในตัวปัญหาและมีจิตสำนึกในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ประสบกับปัญหาอย่างเดียวกันหรือต้องการความช่วยเหลือในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งจะส่งผลให้ สมาชิกของเครือข่ายเกิดความรู้สึกผูกพันในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาหรือลดความ เดือดร้อนที่เกิดขึ้น การรับรู้ร่วมกันถือเป็นหัวใจของเครือข่ายที่ทำให้เครือข่ายดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าเริ่มต้นด้วยการรับรู้ที่ต่างกัน มีมุมมองหรือแนวคิดที่ไม่เหมือนกันแล้ว จะประสานงานและขอ ความร่วมมือยาก เพราะแต่ละคนจะติดอยู่ในกรอบความคิดของตัวเอง มองปัญหาหรือความต้องการไป คนละทิศละทาง แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าสมาชิกของเครือข่ายจะมีความเห็นที่ต่างกันไม่ได้ เพราะ มุมมองที่แตกต่างช่วยให้เกิดการสร้างสรรค์ ในการทำงาน แต่ความแตกต่างนั้นต้องอยู่ในส่วนของ กระบวนการ (process) ภายใต้การรับรู้ถึงปัญหาที่สมาชิกทุกคนยอมรับแล้ว มิฉะนั้นความเห็นที่ต่างกัน จะนำไปสู่ความแตกแยกและแตกหักในที่สุ
           การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (common vision) วิสัยทัศน์ร่วมกัน  เมื่อใดก็ตามที่สมาชิกเห็นว่าเขา เสีย ประโยชน์มากกว่าได้ หรือเมื่อเขาได้ในสิ่งที่ต้องการเพียงพอแล้ว สมาชิกเหล่านั้นก็จะออกจาก เครือข่ายไปในที่สุด
             
การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในเครือข่าย (stakeholders participation) การมีส่วนร่วมของสมาชิกในเครือข่าย เป็นกระบวนการที่สำคัญมากในการพัฒนา ความเข้มแข็งของเครือข่าย เป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และร่วมลงมือ กระทำอย่างเข้มแข็ง




         เอกสารอ้างอิง (ถ้ามี)
สัมภาษณ์นางหนูแดง  เชิงชัยภูมิ  31 หมู่ 2 บ้านหนองแดง ตำบลใหม่นาเพียง อำเภอแวงใหญ่ จังหวัด  
        ขอนแก่น เมื่อวันที่
6 เมษายน 2559
สืบค้นข้อมูลออนไลน์จาก http://phathai.tripod.com/html/Phathai2_1_1.html  เมื่อวันที่12 เมษายน 2559
สืบค้นข้อมูลออนไลน์จาก
http://www.chaimongkol.net/site/index.php/saiboon-julakatin/cotton-2 เมื่อวันที่
        12 เมษายน 2559





         ภาพผนวก
ผู้จัดทำรายงาน นายอรรถพล  ไชยมาลา  รหัสประจำตัว 575030049-9วันที่ออกสัมภาษณ์ และเก็บข้อมูลในลักษณะอื่นๆ          วันที่ เมษายน 2559 ศึกษาข้อมูลมือสอง และเก็บข้อมูลมือสองศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว จังหวัดขอนแก่น สังกัดกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
          วันที่ เมษายน 2559 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในชุมชนจากการสอบถามสมาชิกกลุ่ม
   วันที่ 12, 29  เมษายน 2559 เก็บข้อมูลที่ขาดเหลือทางโทรศัพท์
   
วันที่ 
พฤษภาคม 2559 เก็บข้อมูลที่ขาดเหลือทางโทรศัพท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น